โครงการหลวง ป่าสนวัดจันทร์

โครงการหลวง ป่าสนวัดจันทร์
โครงการหลวงป่าสนวัดจันทร์

30/6/54

เพื่อน


* คน ที่เป็น เพื่อน **



ไม่จำเป็นต้องจบการศึกษา



ระดับเดียวกัน

ไม่จำเป็นต้องมีฐานะ

เท่าเทียมกัน

ไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งหน้าที่

การงานเท่าเทียมกัน

เพื่อนดีๆคือเพื่อนอย่างไร???

คอยเตือน ยามเพื่อนพลั้ง

คอยฟัง ยามเพื่อนขอ

คอยรอ ยามเพื่อนสาย

คอยพาย ยามเพื่อนพัก

คอยทัก ยามเพื่อนทุกข์

คอยปลุก ยามเพื่อนท้อ

คอยง้อ ยามเพื่อนงอน

คอยสอน ยามเพื่อนผิด

คอยสะกิด ยามเพื่อนเผลอ

คอยเจอ ยามเพื่อนหา

คอยลา ยามเพื่อนกลับ

คอยปรับ ยามเพื่อนเปลี่ยน

คอยเรียน ยามเพื่อนเที่ยว

คอยเคี่ยว ยามเพื่อนเล่น

คอยเย็น ยามเพื่อนร้อน

คอยหอน ยามเพื่อนเห่า

คอยเฝ้า ยามเพื่อนฟุบ

คอยอุบ ยามเพื่อนปิด

คอยคิด ยามเพื่อนถาม

คอยปราม ยามเพื่อนหลง

คอยปลง ยามเพื่อนแกล้ง

คอยแบ่ง ยามเพื่อนหมด

คอย-อด ยามเพื่อนทาน

คอยคาน ยามเพื่อนล้ม

คอยชม ยามเพื่อนชนะ

คอยสละ ยามเพื่อนชอบ

ส่งให้คนที่คุณคิดว่า

เค้าเป็น... 'เพื่อน'

และอย่าลืมส่งกลับ

ให้กับ 'เพื่อน'

คนที่ส่งมาให้คุณ

เพื่อนที่รักเรา

หาไม่ง่ายเลย

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนมีแล้ว

จงรักษา"เพื่อน"ไว้ให้ดีดี

รักกันไว้ให้มากๆ

ไม่มีอีกแล้ว

ถ้า

เราเสียเพื่อนที่ดีไป

เพียงเพราะ

แค่เหตุผล โง่โง่

tanitsak pacharaphocharoen (tanitsakpacharaphocharoen88@gmail.com

29/6/54

เมื่อไม่มีความสุขกับงานที่ทำอยู่จะทำอย่างไร?? ฟังคำตอบจากทะไลลามะ


1.ผมเป็นคนหนึ่งที่มีความเชื่อว่า คนเราจะมีความสุขเมื่อได้ทำงานที่ตัวเองชอบ

ถึงอย่างนั้นก็มีบ้างบางเวลาที่รู้สึกไม่สนุก ไม่เป็นสุขกับงานที่ทำ

ทั้งๆ ที่ชอบ

อาจเพราะในบางเวลาที่ว่านั้นงานอาจจะซ้ำซากเกินไป ซึ่งมักทำให้รู้สึกเนือย เฉื่อย เรื่อยเปื่อย เอื่อยๆ เมื่อยๆ และเหนื่อยทั้งที่ก็ไม่ได้ทำอะไรหนักหนา

บางทีความเหนื่อยก็เกิดจากการไม่มีอะไรให้ออกแรง

เอาแต่ออกแรงคิดวนเวียนถึงความเบื่อนั้นในหัวจนเหนื่อย

อาการแบบนี้มักถูกเรียกขานว่า "เหนื่อยใจ"

เมื่อนั้นก็เป็นสัญญาณว่าได้เวลาหาอะไรใหม่ๆ ที่ท้าทายทำเสียบ้าง



2.บทหนึ่งในหนังสือ "ศิลปะแห่งความสุขในที่ทำงาน" ที่เกิดจากการที่ คุณโฮเวิร์ด ซี. คัตเลอร์ เดินทางไปนั่งคุยกับท่านทะไลลามะ ได้พูดถึงความสมดุลระหว่างความน่าเบื่อกับความท้าทายในการทำงานเอาไว้

ผมชอบเวลาที่ท่านทะไลลามะตอบคำถาม ท่านดูเป็นมนุษย์ปุถุชนดีจัง เหนื่อยก็บอกเหนื่อย กังวลก็บอกว่ากังวล ดังนั้น คำสอนหรือธรรมะจากท่านจึงเป็นธรรมะที่ผมรู้สึกว่ามันเกี่ยวข้องกับผม นำไปปฏิบัติได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้หลุดพ้นหรือบรรลุโสดาบันหรืออรหันต์เสียก่อนจึงจะคิดและทำได้แบบนั้น

ท่านทะไลลามะเล่าให้ฟังถึงตอนที่ต้องไปพูดเรื่องยากๆ ให้พระเก้าพันรูปที่อินเดียฟัง

"ฉันรู้สึกเป็นกังวลอยู่เล็กน้อยตั้งแต่ที่ตกลงใจเป็นผู้สอนเมื่อเกือบหนึ่งปีมาแล้ว ดังนั้น ในช่วงสองสัปดาห์ก่อนจะไปที่นั่น ฉันก็ต้องอ่านอย่างจริงจังและจดบันทึกเป็นเวลานานสามชั่วโมงทุกเช้า ฉันต้องสอนวันละห้าชั่วโมงนานห้าวัน"

ท่านกังวลอยู่บ้างในวันแรก และความกังวลก็ค่อยๆ คลี่คลายไป เมื่อวันเวลาผ่านไป

เมื่อคุณโฮเวิร์ดถามว่า "งานหนักตรงจุดนั้นนำมาซึ่งความพอใจอะไรบ้างไหม"

ท่านทะไลลามะตอบว่า "ในวันสุดท้ายฉันรู้สึกพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งเลย รู้สึกโล่งอกมากๆ ด้วย ภารกิจนี้ลุล่วงแล้ว!

"ความพึงพอใจนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับการปลดปล่อยจากความกังวลนั้น แต่โดยรวมแล้วดูเหมือนว่ายิ่งงานหนักเท่าใดความพึงพอใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น"

ท่านยังกล่าวเสริมอีกว่า "ถ้าคุณต้องพบกับความยากลำบากในเวลานี้ ก็เป็นที่แน่นอนว่าในภายหลังคุณจะได้รับความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง ความสุขจะเป็นของคุณ ดังนั้น ความยากลำบากจึงเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความสุข เป็นรากฐานก็ว่าได้"

ระหว่างพยักหน้าตามผมก็แอบคิดแย้งในใจเหมือนกันว่า แต่ความยากลำบากก็อาจไม่ได้นำมาซึ่งความสุขในบั้นปลายเสมอไป นักเรียนที่อดนอนอ่านหนังสือแทบเป็นแทบตาย สุดท้ายหลายคนก็ต้องมานั่งร้องไห้เพราะสอบไม่ติด บางคนอาจทุ่มเทกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาอย่างยาวนานเพียงเพื่อมาพบกับความล้มเหลวในตอนจบ

แต่ถ้ามองให้ดี ผมคิดว่าความทุกข์หรือความเสียใจที่เราได้รับจากความล้มเหลวหลังจากทุ่มเทอย่างหนักนั้นแม้มันจะมาก แต่ก็ยังทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองมากกว่าการล้มเหลวโดยที่ยังไม่ได้ทุ่มเทลงไปเต็มร้อย

ที่สำคัญ ทุกครั้งที่ทุ่มเทอย่างหนัก เรามักแข็งแรงขึ้น

คล้ายๆ ที่ท่านทะไลลามะบอกไว้ "เมื่อความท้าทายเช่นนี้เกิดขึ้นคุณก็ควรจะน้อมรับไว้ด้วยความเต็มใจ และมองความท้าทายนี้ว่าเป็นหนทางในการพัฒนาตัวเอง เพื่อความเจริญ เพื่อบรรลุถึงความเป็นอยู่ที่ดีและความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม"

ดูเหมือนว่าการทำงานหนักหรืองานที่ท้าทายความสามารถนำมาซึ่งความสุข แล้วถ้าต้องทำงานที่ไม่มีความท้าทายเลยล่ะ?


3. "สมมุติว่าท่านมีงานที่ไม่มีความท้าทายอะไรเลย เป็นงานที่น่าเบื่อมากๆ ขอแค่คุณไปทำงานก็พอแล้ว ไม่ต้องใช้ทักษะ ความสามารถหรือสติปัญญาของคุณแต่อย่างใด ท่านพอจะมีคำแนะนำหรือไม่ครับว่าควรจะทำอย่างไร"

ผมชอบคำถามนี้ของคุณโฮเวิร์ด และก็ชอบคำตอบของท่านทะไลลามะ

"คุณต้องมองก่อนว่ามนุษย์เรานั้นมีนิสัยแตกต่างหลากหลาย บางคนโดยเฉพาะคนที่มีสติปัญญามากกว่ามักจะชอบความท้าทายทางความคิดและการแก้ปัญหา แต่เขาเหล่านี้อาจไม่ชอบทำงานที่ต้องใช้แรง แต่คนอื่นอาจจะชอบงานที่ท้าทายน้อยกว่า"

ท่านยกตัวอย่างชาวทิเบตคนหนึ่งที่เคยเป็นพระมาก่อน เขาชอบทำงานที่ไม่ท้าทายอะไรเลย แต่ชอบงานที่ต้องออกแรง ทำซ้ำๆ แบบไม่ต้องคิดอะไรมาก และในระหว่างที่ทำงานนั้นเขาก็ชอบคิดเรื่องธรรมะ งานนั้นทำให้จิตใจของเขาว่างไม่ไปคิดถึงสิ่งอื่น

คล้ายท่านทะไลลามะกำลังบอกใบ้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะให้ความสำคัญกับการงานที่ทำราวกับมันเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดในชีวิต

ยังมีมิติอื่นๆ ในชีวิตที่เราจะมีความสุขไปกับมัน

และบางคนก็เลือกที่จะทำงานบางอย่างเพื่อจะได้มีเวลาว่างหรือได้ใช้หัวสมองไปกับสิ่งอื่นที่สำคัญไม่แพ้การงาน



4. ผมอาจจะโชคดีได้ที่ทำงานที่ชอบ ได้ทำในสิ่งที่รัก และมักจะเที่ยวสะกิดคนนั้นคนนี้ให้มองหางานที่ตัวเองชอบ ที่ทำแล้วมีความสุข อยากตื่นเช้าไปทำงานทุกวัน

เมื่อสะกิดแล้วบางทีก็จะเจอคำถามที่โยนกลับมาว่า "ถ้าไม่ชอบงานที่ทำอยู่ แต่ไม่รู้ว่าชอบอะไร ต้องทำยังไงดี"

คำตอบเท่าที่นึกออกคือ หากเจ้าของคำถามนั้นยังอยู่ในวัยที่ทดลองใช้ชีวิตได้ ก็น่าจะลองออกไปทำงานอื่นที่คิดว่าน่าจะชอบดูสักตั้ง เพราะยังมีเวลา แต่กับบางคนที่ผ่านชีวิตมาเนิ่นนาน ลองงานโน้นนี้มาก็มาก คำตอบคงจะยากกว่าเยอะ

ในระหว่างที่กำลังตั้งคำถามว่า "ต้องทำงานอะไรจึงจะมีความสุข" เราอาจจะโดนเจ้าตัวคำถามนี้หลอกให้หลงทางก็เป็นได้

บางทีคำถามที่ควรถามสำหรับบางคนบางวัยอาจจะเป็น "ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขกับงานที่ทำ"

ท่านทะไลลามะบอกว่า "ย่อมมีความเป็นไปได้ที่ใครสักคนหนึ่งจะมีงานที่จำเจซ้ำซากมากๆ เป็นงานที่อาจจะไม่ท้าทายอะไรเลย และอาจจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่เขาก็ยังเป็นคนที่มีความสุขได้ โลกเรามีคนอย่างนี้อยู่ตั้งเยอะ"

ความสุขจากงานที่ทำอยู่อาจจะเป็นการที่ได้มีเพื่อนร่วมงานที่ดี บรรยากาศเฮฮาตอนกินข้าวเที่ยง หรืออาจเพราะว่ามันเป็นงานที่ทำให้เราได้กลับบ้านไปใช้เวลากับครอบครัวได้เร็วกว่างานอื่น ได้มีเวลาอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูหนัง เย็บปักถักร้อย ดูซีรี่ส์เกาหลี ดูดีวีดีสามก๊กจนจบสามรอบ

นั่นก็คือความสุขในชีวิตมิใช่หรือ

ท่านทะไลลามะสมมุติคนสองคน คนหนึ่งมีที่มาของความสุขจากงานเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีชีวิตด้านอื่นเลย ไม่ได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ไม่สร้างมิตรภาพในที่ทำงาน กับอีกคนหนึ่งที่ทำงานน่าเบื่อซ้ำซาก แต่มีความสนใจด้านอื่นนอกเหนือไปจากงาน ใช้เวลากับครอบครัว ออกไปเที่ยวกับเพื่อน ได้เดินทาง ท่านบอกว่า คนหลังน่าจะเป็นคนที่มีความสุขกว่า

"เขาอาจจะไม่ได้มีงานที่น่าสนใจ แต่เขายังมีชีวิตที่น่าสนใจได้"

คราวนี้ผมพยักหน้าจนคางแทบลงไปโขกนม!

อยู่ที่เราจะมอง "งาน" ว่ามันคือ "ทั้งหมด" ของชีวิต หรือเป็นเพียง "ส่วนหนึ่ง" ของชีวิต

คนที่บ้างาน ชอบงาน รักงาน อาจคิดว่าคนเราควรทุ่มเทแรงกายแรงใจลงไปในงานให้เต็มร้อย (บางคนอาจจะเต็มร้อยห้าสิบ)

แน่ละ ใครได้ทำงานที่รักก็โชคดีไป

แต่บางคนอาจมองอีกแบบ งานก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเท่านั้น และมันอาจไม่ได้ต้องการพลังทั้งหมดและเวลาทั้งหมดในชีวิตของเราไปเพื่อมันก็ได้

ที่สำคัญ ไม่ใช่แค่งานที่เราทำเท่านั้นที่จะนำมาซึ่งความพึงพอใจในชีวิตของเรา

ชีวิตของเราไม่ได้ถูกนิยามจากงานที่ทำเท่านั้น

ถ้าต้องเลือกระหว่างการมี "งานที่น่าสนใจ" กับการมี "ชีวิตที่น่าสนใจ"

ผมคิดว่าอย่างหลังนั้นน่าสนุกกว่ากันเยอะ

แต่ก่อนที่จะมี "ชีวิตที่น่าสนใจ" เราอาจจะต้อง "สนใจชีวิต" เสียก่อน

สนใจว่า นอกเหนือจากงานแล้ว ยังมีอะไรอีกบ้างที่เราสนใจ อยากใช้เวลา อยากให้ความสำคัญ อยากลองลงมือทำสักตั้ง

เมื่อรู้แล้วเราอาจจะลืมคิดถึงการงานที่น่าเบื่อไปเลยก็ได้

ชีวิตจะน่าสนใจเมื่อเราเริ่มสนใจชีวิต
นิ้วกลม
www.facebook.com/Roundfinger.BOOK

25/6/54

คำสอนท่านพุทธทาส


1. ศัตรูที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ตัวเราเอง

2. ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือความอวดดี

3. การกระทำที่โง่เขลาที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกลวง

4. สิ่งที่แสนสาหัสที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอิจฉาริษยา

5. ความผิดพลาดมหันต์ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การยอมแพ้ตัวเอง

6. สิ่งที่เป็นอกุศลที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกตัวเอง

7. สิ่งที่น่าสังเวชที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความถดถอยของตัวเอง

8. สิ่งที่น่าสรรเสริญที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอุตสาหะ วิริยะ

9. ความล้มละลายที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความสิ้นหวัง

10. ทรัพย์สมบัติที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตเรา ก็คือสุขภาพที่สมบูรณ์

11. หนี้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ หนี้บุญคุณ

12. ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้อภัยและความเมตตากรุณา

13. ข้อบกพร่องที่ใหญ่หลวงที่สุดในชีวิตเรา ก็คือการมองโลกในแง่ร้ายและไร้เหตุผล

14. สิ่งที่ทำให้อิ่มอกอิ่มใจที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้ทาน

nithad rungnapanate (nithad.napa@hotmail.com